บ้านท้องฝาย ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่

คำพูดหนึ่งบอกว่า “บ่ดีเอาเมียท้องฝาย บ่ดีไปตายบนนา” ประโยคนี้หมายถึง อย่าเอาเมียบ้านท้องฝาย เพราะต้องซ่อมฝายทุกปี ต้องไปตัดไม้มาตอกตีฝายทุกปี ซึ่งเป็นงานหนักมาก และบ้านอื่นก็ไม่มีกิจกรรมนี้ ส่วนประโยคหลังหมายถึง อย่าไปตายที่บ้านบนนา เพราะแต่ก่อน ป่าช้าของบ้านบนนา อยู่บนดอย ต้องลากศพขึ้นดอยไปนั่นเอง 


การที่บ้านท้องฝาย รวมถึงบ้านทัพ บ้านไร่ ที่กินน้ำจากฝาย ก็ต้องช่วยกันซ่อมฝายเป็นประจำทุกปี ฉะนั้นด้านเหนือของหมู่บ้านเป็นฝายหลวง ชุมชนที่อยุ่หลังฝาย ซึ่งเรียกว่า ท้องฝายนั้น ก็นำพื้นที่การตั้งชุมชน มาเป็นชื่อของหมู่บ้านว่า “บ้านท้องฝาย” ด้วยเหตุนี้ 


แม่อิ่นศรี กรรณิกา ได้เล่าถึงความเป็นมาของบ้านท้องฝายไว้ว่า แต่เดิมหมู่บ้านจะอยู่ด้านที่ชิดกับลำน้ำแม่แจ่ม ด้านเหนือเป็นฝายหลวง หมู่บ้านก็มีหลังคาเรือนไม่กี่หลัง เดินทางไปมาหาสู่กัน แต่มักเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง ชุมชนเลยขยับขึ้นมาบนเนินเชิงเขา มายังที่ตั้งปัจจุบัน อันสูงกว่าพื้นที่เดิม ปลอดภัยจากน้ำท่วม ส่วนชาวบ้านก็มีการแต่งงานกันภายในหมูบ้านระหว่างเรือนเหนือเรือนใต้ เป็นส่วนมาก และบางส่วนก็แต่งงานข้ามหมู่บ้านที่ไม่ห่างไกลกันมากนัก เช่นบ้านทัพ บ้านยางหลวง เป็นต้น ทำให้บ้านกลุ่มนี้มีวัฒนธรรม ประเพณีที่ใกล้เคียงกัน  


ชุมชนบ้านท้องฝายเป็นชุมชนที่เป็นชุมทาง ในการค้าขายในระบบวัวต่าง โดยแม่อุ๊ยเสา ศรีเที่ยงได้เล่าถึงการค้าวัวต่างว่า สามีและพ่อของสามีนั้นเป็นพ่อค้าวัวต่าง ขนของไปซื้อเกลือจากจอมทอง มาขาย บ้างก็นำผ้าตีนจก นำของที่ซื้อมาไปขายบนดอยเช่นบ้านปุย หรือข้ามไปถึงขุนยวม ในลักษณะของการซื้อมา ขายไป ทำให้ชุมชนบ้านท้องฝายเป็นชุมชนการค้ามาแต่ดั้งเดิม และสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่จะเห็นว่า บ้านท้องฝายเปิดหน้าร้านสำหรับขายผ้าทอ ผ้าตีนจก และงานฝีมือต่างๆ กันอย่างคักคักและเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในอำเภอแม่แจ่ม  


ตารางที่ 3.1 ปฏิทินชุมชนของเมืองแม่แจ่ม 

เดือนล้านนา 

ช่วงเวลาโดยประมาณ 

ประเพณีไทยวน 

ประเพณีปกากญอ 

ประเพณีลัวะ 

เจ็ด 

เมษายน 

ปีใหม่หลวง 

ลงพื้นที่เพาะปลูก / มัดมือ 

ประเพณีปีใหม่ เลี้ยงผีที่ต้นไม้ใหญ่ที่อยุ่ติดหมู่บ้าน 

ล่องสังขานต์ 

ดำหัวเจ้าหลวง 

ประเพณีเดือนเจ็ดวัดพระบาท 

แปด 

พฤษภาคม 

ปีใหม่หน้อย 

ลงพื้นที่เพาะปลูก / มัดมือ 

เลี้ยงผีกลางหมู่บ้าน  

(ปิดหมู่บ้าน) 

ประเพณีเดือนแปด 

เก้า 

มิถุนายน 

เลี้ยงผีปู่ย่า 

- 

ลงข้าวโพด 

ประเพณีเดือนเก้าวัดแม่ปาน 

เลี้ยงเจ้าที่ที่สวน 

สิบ 

กรกฎาคม 

เข้าพรรษา 

- 

ดูแลพืชไร่ 

สิบเอ็ด 

สิงหาคม 

นอนวัดจำศีล 

- 

สิบสอง 

กันยายน 

ตานสลาก 

- 

เก็บเกี่ยวผลผลิต 

เลี้ยงเจ้าที่ที่สวน  

(เอาผลผลิตออก) 

เกี๋ยง 

ตุลาคม 

กฐิน 

เก็บเกี่ยว 

เริ่มเกี่ยวข้าว 

จุลกฐิน 

เลี้ยงผีไร่ 

ยี่ 

พฤศจิกายน 

ฟังธรรม 

เก็บเกี่ยวผลผลิต 

เลี้ยงผีเจ้าที่บ้าน/ไร่ 

จุดโคม 

จุดผางประทีป 

ทานข้าวใหม่ 

สาม 

ธันวาคม 

เข้ากำ 

เลี้ยงผีประจำปี 

- 

เผาหลัวพระเจ้า (วัดห้วยรินวัดแม่ปานวัดบุปผาราม) 

คริสต์มาส 

สี่ 

มกราคม 

เผาหลัวพระเจ้า 

ปีใหม่ 

เริ่มเพาะปลูก 

ทานข้าวใหม่ 

มัดมือ 

เลี้ยงผีหมู่บ้าน (ที่อยู่นอกหมู่บ้าน) 

ห้า 

กุมภาพันธ์ 

ปอยหลวง 

ถางไร่ 

เตรียมพื้นที่เพาะปลูก 

ไหว้พระธาตุเดือนห้าเป็งวัดเจียง 

เลี้ยงผีไร่ 

หก 

มีนาคม 

ปอยหน้อย ปอยลูกแก้ว 

เตรียมไร่ 

เก็บผลผลิตทางการเกษตร 

งานประเพณี 6 เป็ง วัดช่างเคิ่ง 

 

 

ข้อมูลศิลปวัฒนธรรมบ้านท้องฝาย 

C:UsersIsaraDesktop67402749_10216746137263174_1574853564142977024_n.jpg 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของบ้านท้องฝาย 

 

มรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ ของพื้นที่บ้านท้องฝาย ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นแหล่งที่มีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจของพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม และเป็นแหล่งวัฒนธรรมที่สำคัญแหล่งหนึ่ง กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรมยังให้ความหมายเพิ่มเติมอีกว่า ““มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม” หมายถึง การปฏิบัติ การแสดงออก ความรู้ ทักษะ ตลอดจนเครื่องมือ วัตถุ สิ่งประดิษฐ์ และพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวเนื่องกับสิ่งเหล่านั้น ซึ่งชุมชน กลุ่มชน หรือในบางกรณีปัจเจกบุคคลยอมรับว่า เป็นส่วนหนึ่งของมรดกทางวัฒนธรรมของตน มรดกภูมิปัญญา ทางวัฒนธรรมซึ่งถ่ายทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังคนอีกรุ่นหนึ่งนี้ เป็นสิ่งซึ่งชุมชนและกลุ่มชนสร้างขึ้นมาอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อตอบสนองต่อสภาพแวดล้อมของตน เป็นปฏิสัมพันธ์ของพวกเขาที่มีต่อธรรมชาติและประวัติศาสตร์ของตน และทำให้คนเหล่านั้นเกิดความภูมิใจในตัวตนและความรู้สึกสืบเนื่องก่อให้เกิดความเคารพต่อความหลากหลายทางวัฒนธรรม และการคิดสร้างสรรค์ของมนุษย์” และยังปรับการจำแนกมรดกทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ออกมาเป็น 7 ประเภท ดังนี้ 

1. สาขาศิลปะการแสดง 

การแสดงดนตรี รำ-เต้น และละครที่แสดงเป็นเรื่องราว ทั้งที่เป็นการแสดงตามขนบแบบแผน มีการประยุกต์เปลี่ยนแปลง และ/หรือ การแสดงร่วมสมัยการแสดงที่เกิดขึ้นนั้น เป็นการแสดงสดต่อหน้าผู้ชม และมีจุดมุ่งหมายเพื่อความงาม ความบันเทิงและ/หรือเป็นงานแสดงที่ก่อให้เกิดการคิด วิพากษ์ นำสู่การพัฒนาและเปลี่ยนแปลงสังคม 

2. งานช่างฝีมือดั้งเดิม  

ภูมิปัญญา ทักษะฝีมือช่าง การเลือกใช้วัสดุ และกลวิธีการสร้างสรรค์ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ สะท้อนพัฒนาการทางสังคม และวัฒนธรรมของกลุ่มชน 

3. วรรณกรรมพื้นบ้าน  

วรรณกรรมที่ถ่ายทอดอยู่ในวิถีชีวิตชาวบ้าน โดยครอบคลุมวรรณกรรมที่ถ่ายทอดโดยวิธีการบอกเล่า และที่เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร 

4. กีฬาภูมิปัญญาไทย  

การเล่น กีฬาและศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว ที่มีการปฏิบัติกันอยู่ในประเทศไทยและมีเอกลักษณ์สะท้อนวิถีไทย แบ่งออกเป็น3 ประเภท คือการเล่นพื้นบ้าน กีฬาพื้นบ้าน และศิลปะการต่อสู้ป้องกันตัว 

5. แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล  

การประพฤติปฏิบัติในแนวทางเดียวกันของคนในชุมชนที่สืบทอดต่อกันมาบนหนทางของมงคลวิถี นำไปสู่สังคมแห่งสันติสุขแสดงให้เห็นอัตลักษณ์ของชุมชนและชาติพันธุ์นั้นๆ 

6. ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 

 องค์ความรู้ วิธีการ ทักษะ ความเชื่อ แนวปฏิบัติและการแสดงออกที่พัฒนาขึ้นจากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติและเหนือธรรมชาติ 

7. ภาษา 

เครื่องมือที่ใช้สื่อสารในวิถีการดำรงชีวิตของชนกลุ่มต่าง ๆ ซึ่งสะท้อน  โลกทัศน์ ภูมิปัญญา และวัฒนธรรมของแต่ละกลุ่มชน ทั้งเสียงพูด ตัวอักษร หรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงพูด 

มรดกทางวัฒนธรรมทั้ง 7 ด้านดังกล่าวนี้ ทางบ้านท้องฝาย ตำบลช่างเคิ่ง อำเภอแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่เท่าที่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ พอจะจำแนกได้ดังนี้ 

 

สาขาศิลปะการแสดง 

จากคำบอกเล่าของแม่อิ่นศรี กรรณิกา ได้เล่าให้ฟังถึงการฟ้อนของชาวบ้านทั่วไปซึ่งเรียกว่าฟ้อนครัวตาน ซึ่งก็จะเป็นการฟ้อนที่เรียกกันว่าฟ้อนปีติ อันเป็นการฟ้อนที่เกิดจากความปีติในการทำบุญ ความอิ่มเอมใจ ความสุขใจ สบายใจ ที่ได้ทำบุญนั้นออกมาในท่วงท่าการฟ้อนรำ โดยไม่ยึดติดว่าจะต้องฟ้อนท่าอะไร มือต้องทำท่าอะไร เท้าต้องก้าวอย่างไรไม่ต้องคำนึงถึง ขอให้ใจมีความสุข การกรีดกรายย่างฟ้อนก็จะออกมาเองโดยธรรมชาติไม่มีการปรุงแต่งใดๆ ทั้งสิ้น ดังจะพบเห็นในช่วงงานบุญต่างๆ เช่นในการแห่ครัวทานหรือเครื่องไทยทานเข้าไปยังวัด หรือความพึงพอใจในบุญกริยาต่างๆ ของชาวบ้าน ซึ่งการฟ้อนปีตินี้ เป็นการฟ้อนที่พบเห็นได้ทั่วไปในอำเภอแม่แจ่ม และบ้านท้องฝายเองนั้น ก็มักมีงานบุญกันเป็นประจำทุกปี ณ วัดบ้านทับ โดยมีศรัทธาในสามหมู่บ้าน คือบ้านท้องฝาย บ้านทัพ บ้านไร่ (ซึ่งจะเขียนติดที่วัดไว้โดยย่อว่า ฝาย-ทัพ-ไร่)  

นอกจากนี้ยังมีการแสดงที่เป็นแบบแผน มาจากการถ่ายทอดโดยวัฒนธรรมหลักของชาวล้านนาทั่วไป ที่แพร่หลายเข้ามาสู่อำเภอแม่แจ่มผ่านระบบการศึกษาในโรงเรียน นั่นคือการฟ้อนเล็บ ซึ่งจะพบเห็นโดยทั่วไป แต่อาจจะผสานความเป็นพื้นบ้านอยู่บ้าง ผู้ที่ฟ้อนเล็บส่วนใหญ่มักเป็นเด็กนักเรียนในโรงเรียน ที่มีครูนาฏศิลป์มาสอน 

กลองสะบัดชัย ก็เป็นการแสดงอีกประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นและพัฒนาศิลปะการแสดงจากภายนอก เข้าสู่อำเภอแม่แจ่มผ่านระบบการศึกษาในโรงเรียน เป็นการแสดงแนวใหม่ที่เป็นที่ถูกใจกับชาวบ้านและเยาวชน มักใช้ในการแสดงต้อนรับแขก ทั้งแขกของชุมชน และนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในหมู่บ้าน 

กลองหลวง เป็นกลองที่ใช้ตีในการแห่ครัวทาน ทั้งที่ไปวัดบ้านทัพและไปยังวัดอื่นๆ ในงานบุญประเพณีประจำปี หรืองานปอยหลวงฉลองเสนาสนะที่เกิดขึ้นในอำเภอแม่แจ่มทั้งหมด ซึ่งมักจะเป็นสมบัติของวัดนั้นๆ ที่จะมีคณะร่วมจากชุมชนศรัทธาวัดนั้นร่วมกัน ทั้งคนตีกลอง ฆ้อง และฉาบ  

 

ตัวแบ่งหน้า 

งานช่างฝีมือดั้งเดิม 

ช่างผีมือดั้งเดิมของชุมชนทั้งฝาย ที่โดดเด่นมีหลายประการอันเป็นหลักก็คือ การทอผ้าตีนจก การทำว่อม และการจักสาน 

การทอผ้า การทอผ้าบ้านท้องฝาย เป็นแหล่งชุมชนทอผ้ามาแต่ดั้งเดิม การทอผ้านี้แพร่หลายกระจายในกลุ่มแม่แจ่มสายใต้ เช่นที่บ้านท้องฝาย บ้านทัพ บ้านไร่ บ้านยางหลวง บ้านอาฮาม เป็นต้น และเป็นกลุ่มที่ส่งผ่านความรู้เรื่องตีนจกไปยังพื้นที่สายเหนือด้วย ซึ่งปัจจุบันผ้าตีนจกลวดลายโบราณ ทั้งหมด 16 ลาย อันถือเป็นลวดลายเฉพาะและบ่งบอกพื้นที่ทางภูมิศาสตร์ได้อย่างชัดเจน ซึ่งการทอที่บ้านท้องฝาย ก็มีทั้งลวดลายโบราณ และลวดลายประยุกต์  

ในพื้นที่บ้านท้องฝายมีการพบผ้าตีนจกโบราณ ที่มีกลิ่นอายตีนจกเชียงแสน โดยไม่ทราบที่มาอย่างชัดเจนว่าเป็นผ้าที่เป็นมรดกตกทอดมาโดยตรง หรือเป็นผ้าทอจากพื้นที่อื่นที่ซื้อเข้ามาโดยพ่อค้าวัวต่าง นำเข้ามาที่แม่แจ่มหรือไม่ แต่ปัจจุบัน หนึ่งในสองผืนที่พบ ถูกนำไปทอใหม่ ดังที่ใช้ประกอบละครเรื่อง “กลิ่นกาสะลอง” ทางสถานีโทรทัศน์ไทยทีวีสีช่อง 3  

 

C:Userssaknarin.chaAppDataLocalMicrosoftWindowsINetCacheContent.Word67650069_10214818648245478_7256006389397454848_n.jpg67469436_10214818647885469_380431929448595456_n 

ภาพที่ 3.44  ผ้าโบราณบ้านท้องฝาย และผืนทอใหม่ในละครเรื่องกลิ่นกาสะลอง 

 

ช่างทอผ้าส่วนใหญ่มีอายุมากแล้ว อย่างเช่น แม่อุ๊ยเสา ศรีเที่ยง แม้ว่าจะอายุ 86 ปี ก็ยังคงทอตีนจกอยู่ โดยเป็นการทอตามความชอบของผู้ทอเป็นหลัก ประกอบกับผู้ใช้นิยมลายโบราณ ยิ่งทำให้แม่อุ๊ยทอผ้าด้วยความสุข ด้วยทอลายที่ชอบ ที่อยากทอ และเป็นที่ต้องการของตลาดร่วมด้วย ดังที่แม่อุ๊ยเสา บอกว่าชอบและทอลายโคมเชียงแสน ขอหละกอน เป็นต้น  

P1270268 

ภาพที่ 3.45 แม่อุ๊ยเสา อวดผ้าผืนงามที่กำลังทออยู่ 

 

การทอผ้าของชาวบ้านท้องฝายส่วนใหญ่แล้วมักจะสืบทอดต่อจากแม่ แม่เป็นคนสอนให้แต่เด็ก และเกิดการเรียนรู้ เลียนแบบ ฝึกฝน จนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเริ่มก็จะทอลายง่ายๆ และแม่จะทำให้ดู โดยทำตามลายที่ผู้เป็นแม่เริ่มต้นให้ บางครั้งแม่ก็คอยแอบมองการทอของลูกสาวว่าทอถูกหรือไม่ ไม่ว่าจะทำงานอื่นอยู่ เช่นดูแลลูกอ่อนอยู่บนบ้าน ก็ต้องสอดส่องสายตาลงมายังกี่ทอผ้าใต้ถุนของลูกสาวว่าทอถูกลายหรือไม่ไปพร้อมกันด้วย บางครั้งก็จะทอลายเป็นตัวอย่างไว้ให้แกะลาย เมื่ออายุเพิ่มขึ้น มีความชำนาญมากขึ้น ลายที่ทอเป็นประจำก็จำได้ขึ้นใจ ไม่ต้องใช้ตัวอย่างก็ได้ 

การทอผ้าของบ้านท้องฝายส่วนใหญ่มักเป็นการทอในส่วนตีนซิ่น ด้วยต้องใช้ความละเอียด และความชำนาญมากกว่า และมักพบว่าในเรือนแต่ละหลังสามารถรู้ประชากรของผู้หญิงได้ จากจำนวนกี่ทอผ้านั่นเอง 

แม่อุ๊ยเสายังเล่าให้ฟังอีกว่า นอกจากจะมีการทอตีนซิ่นแล้ว ก็ยังทอส่วนตัวซิ่นเพื่อนำมาต่อกับตีนจกเป็นผืนสำหรับนุ่ง ไม่เพียงแต่ซิ่นตาโยนของคนเมืองหรือไทยวนแล้ว ยังสามารถทอซิ่นลัวะ ซิ่นยาง สำหรับนุ่งในชีวิตประจำวันด้วย เพียงแต่มีการปรับรูปแบบมาเป็นแบบของคนเมือง ด้วยซิ่นลัวะแต่เดิมนั้นจะสั้นและแคบ ไม่ถูกจริตของการนุ่งแบบคนเมือง ฉะนั้นคนเมืองจึงทอซิ่นลัวะในความยาวและความกว้างแบบคนเมืองสำหรับนุ่งอยู่บ้าน หรือทำงาน ส่วนผ้าตีนจกจะนุ่งไปวัดหรือไปงานบุญประเพณีสำคัญ เช่น งานสลาก งานปอยหลวง เป็นต้น  

การทอผ้ายังมีการทอผ้าพื้นสำหรับใช้ตัดเสื้อด้วย มีการย้อมด้วยห้อม ขมิ้น หรือย้อมด้วยสีธรรมชาติ สำหรับตัดเป็นเครื่องนุ่งห่ม บางอย่างก็ใช้ฝ้ายพิเศษ เช่น “ฝ้ายก่อน” อันเป็นฝ้านสีตุ่นทำแล้วออกเป็นสีน้ำตาล แม่อิ่นศรีบอกว่าแต่เดิมฝ้ายก่อนนั้นจะใช้ปั่นและทอเป็นผืนตัดให้กับผู้ชายเท่านั้นด้วยเป็นฝ้ายที่มีน้อย จึงสงวนไว้สำหรับผู้ชาย 

การทอผ้าตีนจก ก่อนที่ทางรถจะเข้ามาได้สะดวก ก็เริ่มที่จะมีการทอขาย ผ่านพ่อค้าวัวต่าง และขายให้กับคนที่ทอผ้าไม่เป็นดังเช่นกลุ่มสายเหนือเป็นต้น ดังนั้นทางบ้านท้องฝายจึงเป็นแหล่งรวบรวมผ้าตีนจกสำหรับส่งขายให้กับชาวแม่แจ่มและคนข้างนอก 

แม่ฝอยทอง สมบัติได้เล่าถึงการพัฒนาลวดลายของผ้าตีนจกว่า ชาวบ้านต่างทอผ้าตีนจกมานานจนกระทั่ง พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี พระราชชนนีพันปีหลวง ได้เสด็จแม่แจ่ม เมื่อปีพุทธศักราช 2517 และได้มาทอดพระเนตรเห็นผ้าตีนจกของชาวแม่แจ่ม จึงนำคนแม่แจ่มบ้านท้องฝาย ไปฝึกหัดยังพระตำหนักภูพิงค์ราชนิเวศ เกิดการปรับลวดลายเกิดขึ้น จนเกิดลายประยุกต์ในปีพ.ศ.2520 และลายประยุกต์ก็เริ่มทอตั้งแต่ตอนนั้นจนถึงปัจจุบัน  

ช่างทำว่อม ว่อมหรือหมวกอุ่นสำหรับใช้ให้ความอบอุ่นแก่ศีรษะ โดยเฉพาะในฤดูหนาว ชาวแม่แจ่มนิยมสวมว่อมในฤดูหนาว ทั้งเด็ก คนหนุ่มสาว รวมไปถึงพระสงฆ์สามเณร ในบ้านท้องฝายมีเจ้าเดียวที่ทำว่อม และถือว่าเป็นว่อมที่มีคุณภาพและเป็นที่ต้องการของชาวบ้านด้วยรูปทรงที่สวยงามและอยู่ตัว ซึ่งปัจจุบันมีการพัฒนาว่อมโดยเปลี่ยนจากนุ่นงิ้วมาเป็นเส้นใจสังเคราะห์แทน เพื่อความสะดวกและสุขภาพของผู้ทำ ซึ่งยังคงเหลืออยู่เจ้าเดียวคือแม่อุ๊ยเปี้ย และพ่อดวง ศรีเที่ยง สองสามีภรรยา  

 

P1270240 

ภาพที่ 3.46  ว่อมของแม่อุ๊ยเปี้ย ศรีเที่ยง มีหลายขนาด ทั้งของชาวบ้านและพระสงฆ์ 

 

ช่างจักสาน การจักสานเป็นของคู่กับกับชุมชน มักมีคนจักสานหลายคน แต่น้อยคนที่จะมีฝีมือดี และเป็นที่ต้องการของชาวบ้านเช่น พ่อหนานอินปั๋น กรรณิกา ก็เป็นผู้หนึ่งที่จักสาน โดยเฉพาะสานข้อง อันเป็นอุปกรณ์ในการหาปลา ซึ่งมีผู้สั่งกันเข้ามา นอกจากนี้ก็ยังมีพ่อพรหมินทร์ คำกลาง ก็เป็นอีกผู้หนึ่งที่ทำงานจักสาน ตั้งแต่หาไม้ไผ่มาจากป่า แล้วมาจักแบ่งเป็นเส้นๆ จากนั้นจึงลงมือสาน 

พ่อพรหมินทร์นั้น จักสานเป็นขันหรือพานไม้ไผ่สาน ซึ่งมีหลายขนาด ใหญ่สุดจะเป็นขนาดขันโตกสำหรับใส่อาหารรับประทานกันในครอบครัว ขนาดเล็กก็จะเป็นขันสำหรับใส่ดอกไม้ เทียน สำหรับไปวัดในวันพระวันศีลเป็นหลัก นอกจากนี้ยังสานเป็นพุ่มสำหรับตกแต่งเป็นพุ่มดอกไม้ไปถวายพระ หรือใช้ตกแต่งสถานที่ ซึ่งการจักสานนี้ก็ได้รับการถ่ายทอดมากจากรุ่นปู่ รุ่นตา มารุ่นพ่อรุ่นแม่ ก็สอนกันมาเป็นรุ่นต่อรุ่น โดยพ่อพรหมินทร์นั้นก็เปิดบ้านเป็นศูนย์เรียนรู้เรื่องการจักสานให้กับเด็กและเยาวชนที่สนใจด้วยเช่นกัน  

 

P1270286 

ภาพที่ 3.47  งานจักสานไม้ไผ่ของพ่อพรหมินทร์ 

 

วรรณกรรมพื้นบ้าน 

วรรณกรรมพื้นบ้าน นั้นมีหลากหลาย ทั้งที่มีอยู่ในปัจจุบัน และที่เคยมีอยู่แต่หายไปแล้วก็มี อย่างหลังนี้ยกตัวอย่างเช่น การเล่าค่าวเฮือนเย็น หรือการเล่าค่าวในงานศพ ซึ่งพ่อดวง ศรีเที่ยงบอกว่า เพิ่งจะหายไปเมื่อประมาณ 12 -13 ปีที่ผ่านมานี้เอง  

ส่วนการขับซอ หรือการขับขานด้วยทำนองเพลงนั้น ก็จะมีเพียงแต่แม่บัวแก้ว ตายวง ปัจจุบันอายุ 77 ปีแล้ว ที่ยังคงขับลำนำด้วยอาจิณจำและเก็บคำบอกเล่าเรื่องราวต่างๆ ดังเช่นบทชวนมาเที่ยวบ้านท้องฝาย ที่ว่า 

ไปก่าไปกา ไปกับแม่เอื้องย้อยไม้ 

ไปก่าไปกา ไปกินน้ำบ่อบนฝายตึงบ่เหม็นเยี่ยวควายเยี่ยวช้าง 

ไปก่าไปกา ไปกินข้าวเหนียว ไปเที่ยวน้ำตกฝาย 

ไปชมผ้าลายตีนจก มันช่างจกค้อน ก็นกนอนหมอนผา 

เพิ่นเล่าลือชาว่าท้องฝาย ทัพ ไร่ 

ไปก่าไปกา ไปกินข้าวเหนียว ไปเที่ยวน้ำตกฝาย 

ไปชมผ้าลายตีนจก มันช่างจกค้อนก็ ก็นกนอนเชียงแสน 

ช้างขาวช้างแดงเพิ่นก็ทำได้ 

หื้อไปผ่อไปกอยที่บ้านท้องฝายเน่อ”  

 

P1270279 

ภาพที่ 3.48 แม่บัวแก้ว ตายวง 

 

หรืออีกเรื่องหนึ่ง ว่า 

อยู่คนเดียวเดี่ยวโดดเช้าก็ไปแอ่วตลาดสด แม่แจ่ม 

เจ้าไปหัน ใส่เพิ่นขึ้นรถเจ้าก็ปุนดีใคร่หัว 

ป้าจัน ป้าบัวปอลืมไม้คาน ตัวเก่า 

ซำพร่องก็ผม บ่หวีก็ฟั่งเหน็บ ดอกไม้ 

เจ้าผ่องาม ว่างาม 

ซำพร่องก็ผม บ่หวีก็ยีเหมือน รังนก 

มาใส่ผ้า ตีนจกเป็นพวง 

ว่าตางเสียงหลวงก็ว่ากันทั่วห้อง  

สุรากลิ่นเจ๊กเขาก็ว่าเมาสึ่ง เมาสี 

เมาม้วนเบ้ารีก็เปิ้นมีเยี่ยงแก่ 

คนบางคนรถยนต์พอจะชน กันแท้ 

ซำพร่องก็นุ่งโสร่ง ไหมเหลือหน้าเหมือนพู้เมีย นั่งขายเข้าหนมเส้น 

เทียวไปตามถนนปะใส่บ่าวหน้ามน มาอู้เหล้น 

มาขี้แต่งเมาวินจิ่ม เลยวาง 

บทเหล่านี้เป็นการหยิบยกเอาสิ่งที่เห็นมาใส่ท่วงทำนองที่ได้รับฟังได้ยิน แม้ว่าะไม่ถูกต้องตามฉันทลักษณ์บทซอที่ถูกต้องนัก แต่ก็เป็นการซอเพื่อความสนุกสนานและเป็นวรรณกรรมชาวบ้านที่รังสรรขึ้นเป็นลักษณะเฉพาะตัวของผู้ขับขานเอง  

นอกจากนี้ประวัติศาสตร์ชุมชน ก็ยังจัดเป็นหมวดวรรณกรรมพื้นบ้านด้วยเช่นกัน ด้วยเป็นลักษณะมุขปาฐะ ซึ่งเรื่องเหล่านี้ได้รับการบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้าน แต่ยังไม่ได้รับการบันทึกอย่างจริงจัง 

มีคำพูดหนึ่งบอกว่า “บ่ดีเอาเมียท้องฝาย บ่ดีไปตายบนนา” ประโยคนี้หมายถึง อย่าเอาเมียบ้านท้องฝาย เพราะต้องซ่อมฝายทุกปี ต้องไปตัดไม้มาตอกตีฝายทุกปี ซึ่งเป็นงานหนักมาก และบ้านอื่นก็ไม่มีกิจกรรมนี้ ส่วนประโยคหลังหมายถึง อย่าไปตายที่บ้านบนนา เพราะแต่ก่อน ป่าช้าของบ้านบนนา อยู่บนดอย ต้องลากศพขึ้นดอยไปนั่นเอง 

การที่บ้านท้องฝาย รวมถึงบ้านทัพ บ้านไร่ ที่กินน้ำจากฝาย ก็ต้องช่วยกันซ่อมฝายเป็นประจำทุกปี ฉะนั้นด้านเหนือของหมู่บ้านเป็นฝายหลวง ชุมชนที่อยุ่หลังฝาย ซึ่งเรียกว่า ท้องฝายนั้น ก็นำพื้นที่การตั้งชุมชน มาเป็นชื่อของหมู่บ้านว่า “บ้านท้องฝาย” ด้วยเหตุนี้ 

แม่อิ่นศรี กรรณิกา ได้เล่าถึงความเป็นมาของบ้านท้องฝายไว้ว่า แต่เดิมหมู่บ้านจะอยู่ด้านที่ชิดกับลำน้ำแม่แจ่ม ด้านเหนือเป็นฝายหลวง หมู่บ้านก็มีหลังคาเรือนไม่กีหลัง เดินทางไปมาหาสู่กัน แต่มักเกิดน้ำท่วมบ่อยครั้ง ชุมชนเลยขยับขึ้นมาบนเนินเชิงเขา มายังที่ตั้งปัจจุบัน อันสูงกว่าพื้นที่เดิม ปลอดภัยจากน้ำท่วม ส่วนชาวบ้านก็มีการแต่งงานกันภายในหมูบ้านระหว่างเรือนเหนือเรือนใต้ เป็นส่วนมาก และบางส่วนก็แต่งงานข้ามหมู่บ้านที่ไม่ห่างไกลกันมากนัก เช่นบ้านทัพ บ้านยางหลวง เป็นต้น ทำให้บ้านกลุ่มนี้มีวัฒนธรรม ประเพณีที่ใกล้เคียงกัน  

ชุมชนบ้านท้องฝายเป็นชุมชนที่เป็นชุมทาง ในการค้าขายในระบบวัวต่าง โดยแม่อุ๊ยเสา ศรีเที่ยงได้เล่าถึงการค้าวัวต่างว่า สามีและพ่อของสามีนั้นเป็นพ่อค้าวัวต่าง ขนของไปซื้อเกลือจากจอมทอง มาขาย บ้างก็นำผ้าตีนจก นำของที่ซื้อมาไปขายบนดอยเช่นบ้านปุย หรือข้ามไปถึงขุนยวม ในลักษณะของการซื้อมา ขายไป ทำให้ชุมชนบ้านท้องฝายเป็นชุมชนการค้ามาแต่ดั้งเดิม และสืบเนื่องมาจนถึงปัจจุบันที่จะเห็นว่า บ้านท้องฝายเปิดหน้าร้านสำหรับขายผ้าทอ ผ้าตีนจก และงานฝีมือต่างๆ กันอย่างคักคักและเป็นที่ต้องการของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในอำเภอแม่แจ่ม  

 

P1270238 

ภาพที่ 3.49  แม่อิ่นศรี กรรณิกา ผู้บอกเล่าเรื่องราวชุมชน 

 

ตัวแบ่งหน้า 

กีฬาภูมิปัญญาไทย 

กีฬาหรือการละเล่นของชุมชน ปัจจุบันก็คงแทบจะหายไป ด้วยผู้คนคนหนุ่มคนสาวก็ออกไปเรียนในเมือง บ้างก็ออกไปทำงานในเมือง หรืออพยพย้ายออกไป ที่เหลืออยู่ก็จะมีเด็กและผู้สูงอายุเป็นส่วนมาก ฉะนั้นการละเล่นของเด็กปัจจุบันก็เป็นไปตามวิถี แต่บางอย่างก็ยังมีให้เห็นในแต่ละช่วงเวลา 

การชนกว่าง ในช่วงประมาณเดือนกันยายนของทุกปี เป็นช่วงที่กว่าง หรือต้วด้วง จะออกมาหาคู่ก่อนที่จะไข่ไว้ในดิน เพื่อรอฟักและเติมโตในปีถัดไป ส่วนตัวเต็มวัยก็จะลาโลกนี้ไป เมื่อออกมาในช่วงเดือนกันยายนนี้ วิถีแห่งกว่าง ก็ย่อมต่อสู้กันเพื่อแย่งชิงตัวเมีย ฉะนั้นผู้คนจึงนำธรรมชาติของกว่างที่เป็นนักสู้ และสู้เพื่อที่จะได้ตัวเมียนั้น มาเป็นการละเล่นชนกว่างกันเกิดขึ้น และที่สำคัญ เป็นการละเล่นของเด็กผู้ชาย หากไม่ออกไปหากว่างเอง ก็อาจจะเอาอ้อยมาล่อให้กว่างตัวผู้มาติดกับ หรือกว่างแม่อู้ดหรือกว่างตัวเมียมาติดกับ และจะนำไปสู่การเล่นชนกว่างในที่สุด ไม่เพียงแต่เด็กผู้ชายเท่านั้นที่ชื่นชอบกีฬาประเภทนี้ แม้แต่วัยรุ่น วัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ (ที่เคยมีประสบการณ์ในการชนกว่างมาก่อน) ก็ชื่นชอบการชนกว่างนี้ เพียงแต่จะระมัดระวังไม่ให้เกิดการพนันขันต่อกันเกิดขี้น 

การเล่นบ่ากอน บ่ากอนหรือลูกช่วง มักจะเล่นตอนกลางคืน หรือช่วงเทศกาลปีใหม่ ปัจจุบันก็เริ่มหายกันไป ด้วยไม่ค่อยได้เล่นกัน ซึ่งการละเล่นนี้ แม่อิ่นศรี กรรณิกา ผู้เล่า ได้เล่าให้ฟังจากการเห็นรุ่นพี่เป็นคนเล่น ขณะที่ตนเองนั้นอายุได้ประมาณ 5-ปี แม่อิ่นศรีเล่าว่า บ่ากอน ทำมาจากผ้า เย็บให้เป็นถุง บรรจุเม็ดมะขาม เวลาโยนจะยินเสียงเม็ดมะขามกระทบกัน ยิ่งโยน – รับ กันไปมา ก็จะได้ยินเสียงบ่ากอนดังอยู่ไม่ขาด เป็นการละเล่นของหนุ่มสาว ที่จะมาพบปะพูดคุยกัน การโยนหากรับไม่ได้ ก็จะมีการปรับไหมระหว่างกัน โดยยึดสิ่งของของอีกฝ่ายมา แล้วให้อีกฝ่ายมาไถ่คืนเอาตอนหลัง ซึ่งหากใครต้องตาต้องใจกันแล้ว ก็ย่อมที่จะไปสู่การ “แอ่วสาว”, “อู้บ่าวอู้สาว” และ “กินแขกแต่งงาน” ในขั้นสุด 

 

แนวปฏิบัติทางสังคม พิธีกรรมและงานเทศกาล  

แนวปฏิบัติทางสังคม ของชุมชนบ้านท้องฝาย จะแบ่งรูปแบบการดูแลอยู่ 3 กลุ่ม อันเป็นสิ่งสำคัญของชุมชน นั่นคือ บ้าน วัด และฝาย จากคำบอกเล่าของพ่อพรหมินทร์ คำกลาง  

บ้าน มีการปกครองในระบบ “แก่บ้าน” หรือผู้ใหญ่บ้าน มีผู้ช่วย 2 คน และ ล่าม อีก 1 คน 

วัด มีหัวหน้าคือ “แก่วัด” พร้อมกับหัวหน้าเขต (หรือแก่หัวหมวด) และ ล่าม 1 คน 

ฝาย มีหัวหน้าคือ “แก่ฝาย” พร้อมล่ามฝาย 2 คน 

นอกจากจะมี บ้าน วัด และฝายแล้ว ระบบควบคุมทางสังคมยังมีอีกประการหนึ่งนั่นคือ ความเชื่อเรื่อง “ผี”  

ความเชื่อเรื่องผี ถือเป็นแนวปฏิบัติทางสังคมประการหนึ่งที่มักออกมาในรูปแบบของพิธีกรรมเป็นส่วนมาก แต่เนื้อแท้แล้วเป็นสิ่งที่ดูและและควบคุมสังคมให้อยู่เป็นปกติสุข ก่อให้เกิดความรัก ความสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนเป็นหลัก ระบบผี ของชุมชนบ้านท้องฝาย มีอยู่ ส่วนด้วยกันคือ 

ผีเจ้าบ้าน” ผีเจ้าบ้านหรือผีเสื้อบ้าน เป็นผีอารักษ์ที่คอยดูแลรักษาหมู่บ้าน จะมีหออยู่ที่กลางหมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับศาลากลางบ้านและหอประปาหมู่บ้าน เป็นสิ่งที่ยึดเหนึ่ยวร่วมกันของชุมชน ไม่ว่าจะมีกิจกรรมงานใด การแต่งงาน ย้ายบ้าน ก็จะต้องมาบอกกล่าวกันเสียก่อน และที่สำคัญ ก็จะมีการทำบุญเลี้ยงประจำปี พร้อมกับทำบุญหมู่บ้าน สืบชะตาหมู่บ้านไปด้วย และคนทั้งชุมชน ก็จะมาร่วมกัน หากใครไม่มาก็จะต้องมีตัวแทน หรือฝากสิ่งของหรือเงินมาร่วมด้วยเสมอ 

ผีปูย่า” เป็นผีในตระกูล เป็นผีที่คุ้มครองลูกหลาน ไม่ให้ลูกหลานประพฤติผิดศีลธรรม การแอ่วบ่าวแอ่วสาวแต่ก่อน ผู้ชายจะไม่ถูกเนื่อต้องตัวผู้หญิง พ่อแม่สาวก็ปลงวางให้หนุ่มสาวพูดคุยกันได้ด้วยเชื่อว่าผีปู่ย่ากำลังดูเขาอยู่  

การถือผีปู่ย่านี้ จะนับถือทางฝ่ายหญิง เมื่อแต่งงานกันแล้ว ก็จะทำการใส่ผี และ “ไขว่ผี” คือให้ผีสองฝ่าย คือชายและหญิงที่มาจากคนละตระกูลผีนั้น ได้รู้จักกัน ทำให้นอกจากผู้หญิงจะนับถือผีของตนแล้ว ยังจะต้องนับถือผีฝ่ายสามีด้วย แต่การนับถือผีปู่ย่าที่เป็นหลักนั้นคือผีของฝ่ายหญิง ดังแม่อุ๊ยเสากล่าวว่า “แม่มีผี 1 ตัว แต่งงานกับคนเฒ่าผู้ชายมีผี 1 ตัว เป็นว่าแม่มีผี 2 ตัว 

ผีฝาย” ผีฝายคือผีที่ดูแลฝายหลวงของหมู่บ้าน หมู่บ้านอื่นที่ไม่มีฝายก็ไม่ต้องเลี้ยงหรือนับถือเคารพ ฝายหลวงนี้แบ่งน้ำไปยัง 3 หมู่บ้าน คือบ้านท้องฝาย บ้านทัพ และบ้านไร่ ฉะนั้นคนที่ “กินน้ำฝาย” คือใช้น้ำจากฝายทำนาปลูกข้าวนี้ เมื่อครบรอบขวบปีก็จะต้องทำการ “เลี้ยง” ผีฝายเพื่อให้น้ำท่าเข้ากล้าในนาอุดมสมบูรณ์  

ผีเจ้าหลวง” ผีเจ้าหลวงเมืองแจ๋ม หรืออำเภอแม่แจ่ม เป็นผีระดับเมือง มีพื้นที่แบ่งกันชัดเจน ใน 3 ผีใหญ่นั่นคือ เจ้าหลวงม่วงก๋อน หอผีอยู่ที่บ้านยางหลวง, เจ้าหลวงกอนเมือง อยู่ที่บ้านพร้าวหนุ่ม และเจ้าหลวงดอนแท่น อยู่ที่น้ำแม่ออกฮู ผีเจ้าหลวงเป็นผีที่ชาวแม่แจ่มเคารพนับถืออย่างยิ่ง ส่วนบ้านท้องฝายนั้นจะให้ความสำคัญกับเจ้าหลวงม่วงก๋อน ที่บ้านยางหลวงเป็นหลัก 

นอกจากนี้ยังมีประเพณีต่างๆ ในรอบปี ที่ชาวบ้านท้องฝายเป็นผู้จัดเอง และเข้าร่วมกับงานต่างๆ ของทางอำเภอแม่แจ่มดังต่อไปนี้ 

 

ตัวแบ่งหน้า 

ตารางที่ 3.6 ประเพณีในรอบปีของบ้านท้องฝาย 

เดือนล้านนา 

ประมาณเดือน 

ประเพณีสำคัญทางวัฒนธรรม 

ประเพณีทางผี 

ประเพณีที่สัมพันธ์ 

กับภาครัฐ 

ประเพณีทางการเกษตร 

7 

เมษายน 

ประเพณีปีใหม่สงกรานต์ 

ล่องสังขานต์ 

การเล่นบอกไฟ 

ล่องสังขานต์ 

 

 

 

8 

พฤษภาคม 

ประเพณีแปดเป็งวัดกองกาน 

วันอัฐมีบูชา 

ประเพณีปอยหน้อย (บวชพระ) 

 

 

 

9 

มิถุนายน 

ประเพณีเก้าเป็งวัดแม่ปาน 

ประเพณีเลี้ยงพ่อเจ้าหลวง 

ประเพณีเลี้ยงผีฝาย  

 

 

การล้องเหมือง(ลอกเหมืองฝาย) 

การทำนา (แรกนา) 

การขึ้นผีนา 

10 

กรกฎาคม 

เข้าพรรษา 

 

 

 

11 

สิงหาคม 

นอนวัดจำศีล 

 

 

 

12 

กันยายน 

นอนวัดจำศีล 

ทานขันข้าว (ประเพณีสิบสองเป็ง) 

ทานขันข้าว (ประเพณีสิบสองเป็ง) 

 

 

เกี๋ยง 

ตุลาคม 

ออกพรรษา 

จุลกฐินวัดบ้านทัพ 

 

 

 

ยี่ 

พฤศจิกายน 

ฟังธรรมมหาชาติ 

ปล่อยว่าวควัน 

บอกไฟดอก 

 

 

เก็บเกี่ยวข้าว 

3 

ธันวาคม 

เข้าโสสานกรรม (แล้วแต่โอกาส) 

 

 

การล้องเหมือง 

4 

มกราคม 

ถวายข้าวใหม่ 

ถวายหลัวหิงไฟพระเจ้า 

 

 

ถวายข้าวใหม่ 

 

5 

กุมภาพันธ์ 

ประเพณีห้าเป็ง วัดเจียง 

 

เดือนห้า วันอังคาร บูชาบ้าน 

งานมหกรรมผ้าตีนจก 

 

6 

มีนาคม 

ประเพณีหกเป็ง วัดช่างเคิ่ง 

 

 

 

 

K:จากกล้อง panasonic104_PANAP1040218.JPG 

K:จากกล้อง panasonic104_PANAP1040238.JPG 

ภาพที่ 3.50  ประเพณีจุลกฐินวัดบ้านทัพ 

 

K:จากกล้อง panasonic104_PANAP1040255.JPG 

ภาพที่ 3.51  ประเพณีตั้งธรรมมหาชาติ 

 

นอกจากนี้ยังมีพิธีกรรมต่าง ๆ ที่มีความเชื่อในชุมชน โดยมีพ่อหนานอินปั๋น กรรณิกา เป็นผู้ประกอบพิธี เช่น การเขียนยันต์เทียน สำหรับลดเคราะห์รับโชค การทำพิธีส่งเคราะห์ เมื่อผู้ประสบเคราะห์ภัย หรือไม่สบายก็จะทำพิธีเหล่านี้ 

พิธีการเลี้ยงผีฝาย พ่อน้อยศรีบุตร กรรณิกา ผู้เป็นแก่ฝายเล่าว่า การเลี้ยงผีฝายนี้จะกระทำกันในเดือน 9 ก่อนฤดูทำนาในช่วงเข้าพรรษา จะมีการเลี้ยงอยู่ 2 แบบ คือ การเลี้ยงหน้อย และเลี้่ยงใหญ่ เลี้ยงหน้อยคือเลี้ยงปีละครั้ง โดยใช้ไก่ 3 คู่ ส่วนเลี้ยงใหญ่จะเลี้ยงครบรอบ 3 ปีครั้ง โดยจะเลี้ยงวัว  

การเลี่ยงไก่ จะใช้ไก่ 3 คู่ กรวยดอกไม้ 6 คู่ และของแก่ฝาย 1 คู่ รองแก่ฝาย 2 คู่ ล่ามฝาย 1 คู่ พร้อมทั้งกระทงข้าว 1 กระทง และเหล้า 1 ขวด  

การเลี้ยงวัว แต่ก่อนจะเก็บเงินจากสมาชิกที่ใช้น้ำจากฝาย ปัจจุบันจัดตั้งเป็นกองทุน โดยจะใช้เงินไปซื้อวัว ครั้งละประมาณ 27,000 บาท  

เมื่อได้เนื้่อแล้วก็จะนำมาทำอาหารจัดทำเป็น 8 สำรับ โดยแบ่งเป็นขันแสวง 2 ขัน ขันซ้าย-ขวา 2 ขัน ขันขึ้นบนหอ 2 ขัน และขันหลักช้างหลักม้าอีก 2 ขัน  

ในการทำพิธีแก่ฝายจะเป็นคนทำพิธี โดยเชิญผีต่างๆ มารับเครื่องบูชา อันได้แก่ ขุนปะ ขุนปวง ขุนหลวงบ่าลังก๊ะ พร้อมด้วยเจ้าพ่อหลวงทั้ง 3 ตน 

การขึ้นผีนา แม่อิ่นศรี กรรณิกา กล่าวว่าเป็นการบอกกล่าวแก่ผีนา ให้ผีนาดูแลข้าวกล้าในนาให้ได้ผลดี ก็จะมีเครื่องผลีกรรมดังต่อไปนี้ กรวยดอกไม้ 1 คู่ หมาก 1 ชุด บุหรี่ และเหมี้ยง 1 คำ จะนำเครื่องพลีกรรมนี้ไปขึ้นหรือไปบนในช่วงเวลาจะทำนา 

 

ความรู้และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับธรรมชาติและจักรวาล 

อาหาร อาหารเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของมนุษย์ แม่อิ่นศรี กรรณิกา ได้เล่าถึงอาหารการกินไว้ว่า แม่แจ่มนิยมถนอมอาหารไว้ โดยเฉพาะถั่วเน่า ที่ต้องมีการนึ่งและหมักถั่วเหลือง แล้วจึงมาตำ ห่อใบตอง ปิ้งไฟให้หอมก็รักษาเก็บไว้ไว้ได้นาน ซึ่งชาวแม่แจ่มกินถั่วเน่าเป็นพื้น เป็นเครื่องปรุงชูรสในอาหารเกือบทุกประเภท โดยใช้แทนกะปิในการตำน้ำพริกแกงต่างๆ หรือจะนำมาตำน้ำพริกถั่วเน่า ก็ยังได้ 

นอกจากถั่วเน่าอันเป็นของฝากที่ผู้มาเยือนส่วนใหญ่ติดอกติดใจ ซื้อติดมือไปเป็นของฝากประจำแล้ว “น้ำปู” ก็ยังเป็นอาหารอีกประการหนึ่งที่เกิดจากภูมิปัญญาการถนอมอาหารและจัดการปูที่เป็นศัตรูข้าวได้อย่างดี โดยนำปูจากนามาล้างให้สะอาดแล้วตำพร้อมกับตะไคร้ ตำให้ละเอียดแล้วบีบเอาแต่น้ำ ทิ้งไว้หนึ่งคืน แล้วอีกวันหนึ่งจึงทำการเคี่ยวจนเหนียวแล้วเก็บใส่กระปุกไว้กินตลอดทั้งปี โดยนำมาตำน้ำพริกน้ำปู หรือใส่อาหารอื่นๆ เช่นยำหน่อไม้เป็นต้น  

ขนม ขนมมักเป็นขนมที่ทำกันเอง จากข้าเหนียว ข้าวจ้าว บ้างหรือตำเป็นข้าวแป้งแล้วมาทำเป็นขนม ซึ่งในช่วงงานบุญ หรือเทศกาลสำคัญก็จะห่อขนมไปทำบุญและทำเลี้ยงกันในกลุ่มครอบครัวและเพื่อนฝูง ในบ้านท้องฝาย มักมีการทำขนมดังต่อไปนี้ ขนมจ็อก (ขนมเทียน) ขนมมัด ขนมเม็ด ข้าวต้มหัวหงอก ขนมกน ขนมลิ้นหมา เป็นต้น 

 

K:จากกล้อง panasonic104_PANAP1040295.JPG 

ภาพที่ 3.52  ขนมลิ้นหมาหรือข้าวเปี่ยง 

 

ฝายหลวง ฝายหลวงเป็นฝายกั้นลำน้ำแม่แจ่ม ที่ส่งน้ำไปยังสามหมู่บ้านอันได้แก่ บ้านท้องฝาย หมู่ 8 ตำบลช่างเคิ่ง บัานทัพ หมู่ 5 และบ้านไร่ หมู่ 10 ตำบลท่าผา แต่เดิมเป็นฝายไม้สักขนาดต่างๆ เช่น 1 ศอก 2 ศอก 3 ศอก จนถึงขนาด 12 ศอก มาตอกลงกลางแม่น้ำ แล้วใช้หลัก ไม้เป็นตัวกั้นนำหินลงถมซึี่งแต่ละปีจะมีการมาซ่อมแซมฝาย ด้วยในช่วงน้ำหลากมักจะพังฝายนี้ไปทุกปี  

ต่อมาทางกรมชลประทานมาสร้างเป็นฝายคอนกรีต การพังของฝายก็หมดไป แต่ปัญหาการพูนของทรายหน้าฝายกลับมีมากขึ้น ซึ่งต้องลอกฝากประมาณ 3 ปีละ 1 ครั้งแทนการซ่อมฝายแต่เดิม 

การจัดสรรน้ำนั้นก็ไหลสู่คลองใหญ่ จากคลองใหญ่มีคันทดน้ำเข้าสู่คลองใส้ไก่หรือคลองเล็กๆ ไปตามนาของแต่ละคน  

 

J:แม่แจ่ม 29 กค 62P1270323.JPG 

ภาพที่ 3.53  ฝายหลวง 

 

การจัดการดูแลฝาย มีเจ้าหน้าที่อยู่ 4 คน คือ แก่ฝาย ผู้ช่วย 2 คน และล่ามฝาย (หรือเลขานุการ)  แก่ฝายคนปัจจุบันคือ พ่อน้อยศรีบุตร กรรณิกา ซึ่งเป็นแก่ฝายได้ 8 – 9 ปี (และเคยเป็นผู้ช่วยแก่ฝายมาก่อน 9 ปี) โดยแก่ฝายจะมีวาระ 3 ปี ก็จะเลือกกันใหม่ ซึ่งอาจจะเป็นคนเดิมก็ได้  

 

J:แม่แจ่ม 29 กค 62P1270316.JPG 

ภาพที่ 3.54  พ่อน้อยศรีบุตร กรรณิกา แก่ฝาย 

 

แก่ฝายที่สืบชื่อขึ้นไปก่อนหน้า ได้เท่าที่พ่อน้อยศรีบุตรจำได้ก็คือ พ่อใจ๋ พ่อหนานติ๊บ พ่ออุ๊ยน้อยเป็ง พ่ออุ๊ยแปง พ่ออุ๊ยจม และพ่ออุ๊ยหลวงลัย ซึ่งในสมัยที่พ่ออุ๊ยน้อยเป็งเป็นแก่ฝายนั้น เป็นช่วงที่กรมชลประทานมากสร้างฝายคอนกรีต  

ค่าตอบแทนของผู้เป็นแก่ฝายนั้น แต่เดิมได้รับข้าวจากนา เรียกว่าค่าต๋างนา แต่ตั้งแต่พ่อใจ๋เป็นต้นมา จะจ่ายเป็นค่าจ้าง โดยเก็บเงินจากผู้ใช้น้ำไร่ละ 100 บาททุกปี แล้วนำเงินที่เก็บนี้ไปปล่อยกู้แล้วนำดอกเบี้ยที่ได้นั้นจ่ายเป็นค่าตอบแทนให้กับแก่ฝาย   

แก่ฝายมีหน้าที่ในการดูแลการใช้น้ำ เปิดปิดประตูน้ำ และแบ่งน้ำไปยังลำเหมืองเล็กๆ อย่างเท่าเทียมกัน หากเกิดปัญหาการใช้น้ำ แก่ฝายก็จะเป็นผู้ไกล่เกลี่ยตัดสิน  

J:แม่แจ่ม 29 กค 62P1270329.JPG 

J:แม่แจ่ม 29 กค 62P1270333.JPG 

ภาพที่ 3.55 ระบบเหมืองฝายที่บ้านท้องฝาย 

 

ในรอบปี จะมีการ “ล้องเหมือง” หรือการขุดลอกคลองส่งน้ำ 2 ครั้ง คือในเดือน มิถุนายน ก่อนที่จะมีฤดูการทำนา และในช่วงเดือนธันวาคม ในช่วงที่มีการปลูกผักต่างๆ ในนา ครั้งละ 5 วัน โดยจะมีการกะเกณฑ์คนที่อาศัยน้ำจากฝายนี้ มาช่วยกัน หากใครมีที่นามากก็ต้องมีสองแรง สามแรงตามแต่จำนวนที่นาโดยมีพื้นที่ของตนเองในการแบ่งสรรพื้นที่ในการขุดลอก  

ภาษา 

ภาษาของชาวบ้านท้องฝาย ก็จะเป็นภาษาไทยวนหรือคำเมือง ส่วนสำเนียงจะเป็นสำเนียงของชาวแม่แจ่มสายใต้  

สำเนียงของชาวแม่แจ่มก็จะแบ่งสำเนียงเช่นเดียวกับการแบ่งพื้นที่ คือสายเหนือและสายใต้ โดยที่สำเนียงสายใต้นั้นจะออกเสียงลากยาวกว่าทางสายเหนือ 

ส่วนอักษรที่ใช้ก็ยังมีการใช้อักษรธรรมล้านนาในกลุ่มพ่อน้อยพ่อหนาน ผู้ประกอบพิธีอยู่ ส่วนคนรุ่นใหม่ก็จะอ่านออกเขียนได้ก็จะมีเฉพาะคนที่สนใจจริง ๆ เท่านั้น ซึ่งก็มีน้อยมาก 

 

J:แม่แจ่ม 27 กค 62P1270254.JPG 

ภาพที่ 3.56 พับคำเวนทานของพ่ออินปัน กรรณิกา 

 

เพิ่มข้อมูลโดย : a001
แก้ไขเมื่อ : 08 มี.ค. 2564 14:19